บทนำ
กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ (Knowledge Transfer) เป็นกิจกรรมการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีประโยชน์องค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั้งในตัวบุคคล เอกสาร ทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร การที่องค์กรจะสามารถเข้าถึงความรู้ได้ จำเป็นที่จะต้องมี ผู้รู้ และผู้ปฎิบัติที่ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้แล้วทำให้ผู้ที่รับฟังเกิดการรับรู้ เข้าใจ ปฏิบัติได้ ตามแนวทางองค์กร
ส่วนข้อมูลสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและบริการ คือ ผู้ที่ได้รับหน้าที่ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับธรรมภิบาลข้อมูล และมีตระหนักว่า การทำงานที่เกี่ยวกับข้องกับข้อมูลขององต์กรในทุกภาคส่วน จำเป็นที่จะต้องธรรมมาภิบาลข้อมูล เพื่อให้บุคคลกรภายในกรมควบคุมมลพิษ เกิดการรับรู้ เข้าใจ และปฏิบัติตามธรรมาภิบาลข้อมูลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม (กนกกร จีนาและอลงกรณ์ คูตระกูล, 2561) ส่วนการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) เป็นกระบวนการที่การวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานและการคิดค้นพื้นฐานสำคัญๆ ถูกพัฒนา และส่งต่อไปสู่การประยุกต์ใช้งานเชิงปฎิบัติการ การนำไปประยุกต์ใช้งานและการเป็นผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้อาจเป็นวิธีการภายใต้การควบคุมโดยกฎหมายหรือไม่ก็ได้ แต่จะต้องประกอบด้วยการสื่อสารจากผู้ต้องถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไปยังผู้รับการถ่ายทอด (กระทรวงวิทยาลัยศาสตร์และเทคโนโลยี, 2560)
ความสำคัญของกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้
ส่วนความสำคัญของการถ่ายทอดเทคโนโลยีประกอบไปด้วย
- ระดับของการถ่ายทอดเทคโนโลยี
- เหตุผลของการถ่ายถอดเทคโนโลยี
- ขั้นตอนการถ่ายทอดเทคโนโลยี
โดยวัตถุประสงค์ของบทความฉบับนี้คือ การศึกษากระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของเทคโนโลยีเพื่อก่อให้เกิดความตระหนักรู้เทคโนโลยี และ องค์ความรู้
กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ เป็นวิธีโดยการแบ่งปัน หรือเผยแพร่ความรู้และความเชี่ยวชาญภายในองค์กร เพื่อแก้ไขปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพ และส่งเสริมความร่วมมือกัน โดยมีขั้นตอนเพื่อช่วยสร้างกระบวนการถ่ายทอดความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
- จัดเก็บข้อมูล (รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิด หลักปฏิบัติที่ดีที่สุด กระบวนการและเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อองค์กร)
- พิจารณากลุ่มเป้าหมาย (นำเสนอข้อมูลให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุด เลือกรูปแบบที่จะเข้าใจง่ายและดึงดูดให้มีส่วนร่วม)
- จัดระเบียบข้อมูล (สามารถหาข้อมูลมาใช้ประโยขน์ได้ จัดหมวดหมู่เอกสารโดยใช้คีย์เวิร์ดแท็ก และป้ายกำกับเพื่อให้สมารถเข้าถึงได้ง่าย)
- แจกแจงข้อมูล (การมีเทคนิคต่างๆที่สามารถใช้เพื่อถ่ายทอดความรู้ การฝึกสอนฝึกอบรม หรือการจัดทำเอกสาร)
- สร้างความรู้ต่อไป (การเรียนรู้ตลอดชีวิต การหาผู้เชี่ยวชาญในการส่งเสริมพัฒนาทางวิชาชีพกับองค์กร)
- สร้างแนวทางที่มีโครงสร้าง (กำหนดวัตถุประสงค์ เกณฑ์มาตรฐานที่เหมาะสม ระยะเวลามให้ชัดเจน และติดตามดูผลว่ามีปผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร)
- ปลูกฝังวัฒนธรรมการแบ่งปันความรู้ (ส่งเสริมให้องค์กรแนวคิด แนวทางแก้ไข และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการถ่ายทอดความรู้มีการปรับตัวและไม่หยุดชะงัก) (วนิดา ธนากรกูล,2561)
การถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นการถ่ายทอดวิทยาการหรือความรู้ความสามารถจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง จนชุมชนหนึ่งไปอีกชุมชนหนึ่ง ทำให้ความรู้เหล่านี้กระจายไป และเกิดการคิดค้นวิธีการใหม่ๆ เพื่อสนองตอบความต้องการของมนุษย์กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างประเทศ (ชำนาญ ขุมทรัพย์, 2562) โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยี ประกอบด้วย
1. ระดับของการถ่ายทอดเทคโนโลยี
สามารถแบ่งออกได้ 4 ระดับ
- การโยกย้ายทางภูมิศาสตร์ของเทคโนโลยี (การเคลื่อนย้ายโรงงานและเครื่องจักรไปประเทศที่พัฒนาแล้ว)
- การถ่ายทอดเทคโนโลยีเสร็จสมบูรณ์ (เป็นการดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้ว สามารถดำเนินการผลิต บำรุงรักษาเปลี่ยนแผนการผลิตด้านเทคโนโลยี)
- การกระจายด้านความรู้เทคโนโลยีซึ่งได้รับจากระดับที่2 ส่งผ่านภายในสังคม (รู้จักใช้เทคโนโลยีกว้างขว้างขึ้นเพราะมีเครื่องช่วย เพราะช่วงระดับนี้เทคโนโลโลยีนำมาใช้และมีการเผยแพร่ในสังคม)
- ความสามารถสร้างเทคโนโลยีเป็นระดับพึ่งตนเองได้/สร้างเองได้ (ระดับนี้ไม่ต้องอาศัยผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยผู้รับการถ่ายทอดสามารถดัดแปลง ปรับปรุงและสร้างขึ้นเอง)
2. เหตุผลของการถ่ายทอดเทคโนโลยี
สามารถแบ่งออกได้ 3 ประการ
- ผู้ซื้อต้องการใช้เทคโนโลยีนั้น (การนำเทคโนโลยีมาสอดคล้องกับนบายหรือวัตถุประสงค์ของรัฐและเอกชน)
- ไม่มีเทคโนโลยีในประเทศนั้น (ค่านิยมเชื่อว่าสินค้าต่างประเทศดีกว่าภายในประเทศ ทำให้การผลิตภายในประเทศต้องตอบสนองความต้องการของตลาด) และ
- เทคโนโลยีในประเทศมีราคาสูงกว่าต่างประเทศ (ผู้ซื้อบางรายเชื่อว่า เทคโนโลยีบริษัทข้ามชาติมีราคาต่ำกว่า ทำให้ผู้ซื้อยินดีรับเทคโนโลยีจากต่างประเทศมากกว่าในประเทศ)
3. ขั้นตอนการถ่ายทอดเทคโนโลยี
แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน
- ชั้นวิเคราะห์และวางแผน (การถ่ายทอดเทคโนโลยีมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ผู้ที่ต้องการเทคโนโลยี (ผู้รับ) ผู้มีเทคโนโลยี (ผู้ให้) และตัวเทคโนโลยีต้องพิจารณาจุดอ่อนของตย และพร้อมจะรับเทคโนโลยีนั้น)
- ชั้นเสาะแสวงหาเทคโนโลยี (เป็นวิธีการค้าหาเทคโนโลยีเพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีที่ต้องการ สามาถทำได้หลายทาง)
- ชั้นประเมินเทคโนโลยี (ผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีต้องประเมินด้วยการวิเคราะห์ตนเองและวิเคราะห์ทางเทคนิค)
- ชั้นต่อรองเงื่อนไขในสัญญา (เมื่อผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีตัดสินใจรับเทคโนโลยีจากผู้ขายก่อนตกลงทำสัญญามักมีการเจราจาต่อรองเงื่อนไขเพื่อให้มีความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย)
- ชั้นเขียนสัญญาอย่างเป็นทางการ (การเขียนสัญญาอย่างเป็นทางการขั้นตอนสุดท้ายของการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้ให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีจากผู้ให้โดยการทำสัญญา เพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีสำหรับการค้าเป็นไปตามเจตนารมณ์ของทั้งสองฝ่าย)
สรุป
กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ ควรคำนึงถึงภาพรวม นอกเหนือจากเป็นกระบวนการในการจัดความรู้แล้ว ยังต้องเชื่อมโยงกับโครงสร้างความรู้ ได้แก่ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและระบบการถ่ายทอดความรู้ จะเป็นต้องทำควบคู่กับการจัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และจะต้องมีต้นทุนต่ำอีกทั้งยังสามารถกลายเป็นรูปแบบหนึ่งที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศในการถ่ายทอดองค์ความรู้
การถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มผู้รู้และกลุ่มผู้ไม่รู้ กลุ่มผู้รู้เมื่อมีความรู้ความชำนาญก็ต้องการถ่ายทอดเผยแพร่คงามรู้นั้นๆ โดยอาจจะต้องการหวังผลตอบแทนหรืออาจไม่หวังผลตอบแทนก็ได้ ส่วนกลุ่มผู้ไม่รู้ก็ต้องการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี เนื่องจากไม่สามารถคิดเองหรือผลิตเองได้ หรือถ้าคิดเองได้ก็ช้า เสียเวลา หรืออาจได้คุณภาพไม่เท่าเทียม กับสิ่งที่เขาคิดไว้ก่อน ดังนั้นรัฐบาลต้องรีบเข้ามาควบคุมเรื่องการซื้อเทคโนโลยี ส่งเสริมให้มีการวิจัยเกี่ยวกับสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีปัจจุบันในเทศมีลักษณะอย่างไร มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างไร และให้การศึกษาสถานศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนยีพื้นบ้าน