การเคลื่อนไหวทางสังคม

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้เกิดปรากฏการณ์เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ออกมาชุมนุมและเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลรับและทำตามข้อเสนอเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมหลายประการ อาทิ การร่างรัฐธรรมนูธใหม่ การให้สิทธิประกันตัวของผู้ต้องหาในคดีอาญามาตรา 112 อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวทางการเมืองไม่ได้เกิดขึ้นในยุคสมัยนี้เพียงเท่านั้น แต่หากย้อนกลับไปในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา สังคมไทยได้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวอยู่บ่อยครั้ง แต่เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาในหลากหลายประเด็นตามประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นๆ บทความขนาดสั้นชิ้นนี้นำเสนอความหมายโดยย่อของ “ขวนการเคลื่อนไหวทางสังคม” และอภิปรายปรากฎการณ์การเคลื่อนของในปัจจุบันที่มุ่งใช้พื้นที่iสื่อออนไลน์หรือพื้นที่เสมือนเป็นพื้นที่ของการต่อสู้ที่ได้ความนิยมอย่างมาก

ขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม

ขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง คือ การรวมตัวของกลุ่มคนและเรียกร้องให้รัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายสาธารณะซึ่งส่งผลโดยตรงต่อประชาชนในภาพรวม ส่วนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม คือการรวมตัวของกลุ่มคนที่มีเป้าหมายเดียวกันเพื่อเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มของตน เช่น สิทธิสตรี สิทธิชาติพันธุ์ ฯลฯ โดยอาจจะมีการจัดตั้งองค์กรอย่างเป็นทางการเพื่อเคลื่อนไหวต่อเนื่อง เห็นได้ว่าขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นสวนหนึ่งของการเคลื่อนไหวทางการเมืองและสามารถใช้อธิบายปรากฎการณ์การเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ อย่างไรก็ตาม นักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนมากเห็นตรงกันว่าขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในปัจจุบันเป็น “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่” กล่าวคือ การเรียกร้องของกลุ่มคนที่ก่อตัวขึ้นบางกลุ่มได้จัดตั้งองค์กรอย่างเป็นทางการและที่สำคัญไม่เพียงเรียกร้องในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มของตนเท่านั้น แต่ยังเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงในภาพกว้างที่ส่งผลให้กับคนทุกกลุ่ม เช่น การรวมตัวของชาวประมงขนาดเล็กที่เรียกร้องให้รัฐบาลควบคุมการจับสัตว์น้ำวัยอ่อน เพราะเห็นว่าการจับสัตว์วัยอ่อนซึ่งยังไม่ถึงวัยเจริญพันธุ์หรือสามารถวางไข่ได้ส่งผลให้สัตว์น้ำน้อยลงในที่สุด ซึ่งทำให้ชาวประมงขนาดเล็กจะเข้าถึงทรัพยากรได้ยากขึ้น นอกจากนี้ชาวประมงยังเห็นว่าการที่สัตว์น้ำลดลงจะทำผู้คนในสังคมไทยเข้าถึงการบริโภคสัตว์น้ำได้ยากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นการเรียกร้องให้กับประชากรทุกกลุ่มที่ไม่เป็นแต่ชาวประมงขนาดเล็กอย่างเดียว เป็นต้น

“พื้นที่” ในการเคลื่อนไหวของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม

หากพิจารณาถึง “พื้นที่” สำหรับขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง หากย้อนกลับไปในอดีตขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองจะใช้วิธีการเดินขบวนบนท้องถนน ซึ่งเป็นพื้นที่หลักในการเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการตามข้อเสนอ ทั้งนี้อาจมีการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งสำหรับแสดงเนื้อหาการเรียกร้องต่อรัฐ ดังที่เห็นได้ชัดในยุคของขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองในนามว่า “สมัชชาคนจน” ที่เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งมีการเดินขบวนและชุมชนในพื้นที่ที่เกิดปัญหาในจังหวัดต่างๆ รวมถึงกรุงเทพมหานคร เป็นระยะนาน


อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน “พื้นที่” ในการเคลื่อนไหวของขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เนื่องจากการเกิดขึ้นของสื่อออนไลน์ เช่น Facebook X ฯลฯ ทำให้รูปแบบการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เพราะขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไม่เพียงใช้ “พื้นที่” ท้องถนนหรือการชุมชนใจกลางศูนย์อำนาจ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ในการเรียกร้องหรือยื่นข้อเสนอให้กับรัฐบาลเพียงอย่างเดียว แต่นำสื่อออนไลน์มาเป็นเครื่องมือสำคัญการเคลื่อนไหวและเรียกร้องต่อรัฐบาลให้แก้ไขปัญหาที่กลุ่มของตนได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นการนัดชุมนุมในพื้นที่จริง การเผยแพร่เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กลุ่มของตน เป็นต้น


ผู้เขียนขอตัวอย่างขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่ม “เยาวชนปลดแอก”ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงการรัฐบาลที่นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยขณะนั้น เยาวชนปลดแอกเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ในส่วนของวิธีการเคลื่อนไหว กลุ่มเยาวชนปลดแอก ใช้สื่อออนไลน์ เช่น Facebook X เป็นเครื่องมือในการการอธิบายเหตุผลของขอเรียกร้อง การระดมทรัพยากร และที่สำคัญคือการนัดหมายการชุมนุมบนท้องถนนผ่านการประกาศใน Facebook X ซึ่งเป็นการชุมนุมในรูปแบบ Flash mob ที่ใช้เวลาชุมชนและรวมตัวไม่นานมากนักและจะมีการนัดรวมกลุ่มเพื่อเคลื่อนไหวในครั้งต่อไป การเคลื่อนไหวในลักษณะข้างต้นจะใช้สื่อออนไลน์เป็นพื้นที่นำและตามมาด้วยการนัดหมายในพื้นที่จริง ทั้งนี้สิ่งที่โดดเด่นสำหรับลักษณะการเคลื่อนไหวในรูปแบบดังกล่าว คือ ทุกคนส่วนมากไม่ได้รู้จักกันมาก่อนในชีวิตจริงและกลับมาร่วมกันได้อย่างรวดเร็วและเป็นการเคลื่อนไหวที่รัฐบาลควบคุมได้ยากกว่าขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในยุคก่อน ในแง่นี้สื่อออนไลน์จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและทำให้รูปแบบการเรียกร้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย

ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและสื่อออนไลน์กับความท้าทายในอนาคต

เห็นได้ว่านับตั้งแต่ในอดีตมาถึงปัจจุบันได้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมมาโดยตลอด โดยแต่ละขบวนการมีข้อเรียกร้องและมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการเคลื่อนไหว โดยขึ้นอยู่กับบริบทของสังคมในช่วงนั้นๆ ปัจจุบันการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ใช้สื่อออนไลน์มาเป็นเครื่องมือในการระดมทรัพยากร อธิบายข้อเรียกของกลุ่มตนเอง หรือนัดชุมนุมบนท้องถนน ทั้งนี้เป้าหมายของการเคลื่อนไหวทางสังคมคงหนีไม่พ้นความต้องการให้รัฐบาลรับข้อเสนอเผื่อให้ข้อเรียกร้องบรรลุเป้าหมาย ถึงแม้ปัจจุบันจะมีสื่อออนไลน์มาเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ประกอบการเคลื่อนไหว ทว่าขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมยังคงต้องพัฒนาเครื่องมือที่ใช้สำหรับการเคลื่อนไหวต่อไปหรือคิดค้นวิธีการใช้สื่อออนไลน์เพื่อมีประสิทธิภาพทำให้ข้อเรียกร้องมีพลังและรัฐบาลตอบรับข้อเสนอในที่สุด

By hxhx2hx

One thought on “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Movements)”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *