Archaic Glablolization จุดเริ่มต้นของโลกาภิวัตน์ในยุคโบราณ
แน่นอนแทบทุกคนก็น่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดีสำหรับคำว่า Globlalization หรือเรียกกันติดหูมานานว่า โลกาภิวัตน์ เป็นศัพท์ที่ใช้กันในไทยกันดาษดื่นในปัจจุบันทั้งๆที่เพิ่งจะเกิดขึ้นมาไม่กี่สิบปี ซึ่งปกติคำนี้ มักจะนำมาใช้ในปรากฎการณ์ในเหตุการณ์ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่อันที่จริงแล้วนั้น สภาวะโลกาภิวัตน์เป็นกระบวงนการที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และมีรากฐานมาจากยุคโบราณมาแล้ว
ถึงแม้ในยุคโบราณนั้น การเชื่อมโยงและการแลกเปลี่ยนระหกว่างกลุ่มคนและอารยธรรมต่างๆ จะไม่รวดเร็วและกว้างขวางเหมือนในปัจจุบัน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Archaic glablolization นั้น จะช่วยให้เราเข้าใจอย่างชัดเจนถึงความเชื่อมโยงและความต่อเนื่อง ของประวัติศาสตร์โลก และตระหนักถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม รวมทั้งสร้างองค์ความรู้ต่างๆช่วยเสริมความเข้าใจ และความร่วมมือระหว่างภูมิภาคหรือประเทศในปัจจุบัน
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของ Archiaic Glablolization หรือโลกาภิวัตน์ในยุคโบราณ
ลองย้อนกลับไปในยุคโบราณเราจะเห็นโมเดลการเกิดของ Archiaic Glablolization ได้อย่างชัดเจน ว่าไม่ได้อยู่ดีๆแล้วเพิ่งมีมาเกิด หรือบังเอิญเกิดขึ้น เราจะยกตัวอย่างที่อาจจะคุ้นเคยกันดีในนักประวัติศาสตร์และบุคคลทั่วไปที่สนใจในด้านนี้
การขยายของอาณาจักรโรมัน (Roma Empire)
ใครๆก็ทราบกันดีว่า อาณาจักรโรมันโบราณนั้น ถือว่าครองพื้นที่กว้างใหญ่ในดินแดนยุโรปและบางส่วนของทวีปแอฟริกา การขยายอาณาจักรนั้น ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีระหว่างดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของโรมัน รวมไปถึงการติดต่อทางการฑูต และการค้าขาย
การค้าทางทะเลในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ย่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนนั้น เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วในแวดวงประวัติศาสตร์ ว่าเป็นย่านการค้าที่คึกคักมากที่สุดในโลกยุคโบราณก็ว่าได้ เมืองต่างๆในย่านนี้ เช่น อียิปต์ กรีก โรมันมีการค้าขายทางทะเลที่ค่อนข้างชุกชุม ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าสำคัญต่างๆ เช่น น้ำมันมะกอก ไวน์ ทองคำ เครื่องปั้นดินเผา และแน่นอน ต้องมีการแลกเปลี่ยนความรู้ด้วย
เส้นทางสายใหม เส้นทางการค้าที่ยาวที่สุด
เส้นทางสายไหมเป็นเส้นทางการค้าที่เชื่อมเอเชียและยุโรปเข้าด้วยกัน ผ่านทางเอเชียกลาง เริมตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ทำให้เกิดการแลหกเปลี่ยนเทคโลโลยี วัฒนธรรม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ระหว่างชาติต่างๆ
การโลกาภิวิตน์ในยุคโบราณที่กล่าวมาเหล่านี้ ถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญที่สร้างเส้นทางสำหรับการแลกเปลี่ยนและการเชื่อมโยงระหว่างประเทศและวัฒนธรรมต่างๆในยุคปัจจุบัน
ว่าด้วยยุคแรกของโลกาภิวัตน์ หรือ Globalization 1.0
ยุคแรกของโลกาภิวัตน์ “ยุคใหม่” นั้นเริ่มต้นตั้งแต่การค้นพบทวีปอเมริกา ในปี 1492 ซึ่งเป็นปีที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ค้นพบทวีปอเมริกา และในช่วงเวลานี้ โลกาภิวัตน์ได้ขับเคลื่อนด้วยชาติต่างๆที่เสาะแสวงหาอำนาจและอิทธพลไปในดินแดนใหม่ๆ ซุึ่งการค้นพบทวีปอเมริกานั้น ได้เปิดโอกาสให้ชาวยุโรปเข้าถึงแหล่งแรงงานงานและทรัพยากรใหม่ๆ กระตุ้นให้เกิดการค้าระหว่างทวีป ถึงอย่างไรเสีย ในช่วงปี 1500-1800 ก็ยังไม่ถือว่าไม่เติบโตมากนัก สำหรับการติดต่อค้าขาย แลกเปลี่ยนความรู้อารยธรรม นับเป็นเพียง 1% ต่อปีเท่านั้น จึงไมถือว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์แบบเต็มรููปแบบ
Globalization 1.0 นั้น ก็คือจุดเริ่มต้นของกรระบวนการโลกาภิวิตน์ที่มีประชาชาติต่างๆในยุคใหม่เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก แม้จะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ยังก้าวไม่ทันกัน แต่ก็นับได้ว่าเป็นยุคสำคัญที่วางรากฐานที่ทำให้โลกที่กว้างใหญ่นั้นแคบลง ก่อนจะพัฒนาเป็น Globalization 2.0 ในศตวรรษที่ 20 ซึ่งผู้ที่มีบทบาทในยุคนี้จะเป็นบริษัทข้ามชาติแทน
สงครามโลกครั้งที่ 1 กับโลกาภิวัตน์
สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในช่วง คศ. 1914-1918 ซึ่งชนวนและมูลเหตุเราจะไม่กล่าวกันถึง แต่สิ่งที่เกิดผลกระทบกับกระบวนการโลกาภิวัตน์นั้น ที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็เห็นจะเป็น
- การชะงักงันของการค้าระหว่างประเทศ แน่นอนว่า ในช่วงสงครามนั้น การค้าระหว่างประเทศได้หยุดชะงักลง เนื่องจากประเทศต่างๆ ต่างก็มุ่งเน้นการพัฒนาในด้านต่างๆรวมทั้งระดมทรัพยากรในการทำสงครามเป็นหลัก
- การกำเนิดครั้งแรกของลัทธิชาตินิยม ในช่วงเวลานี้ได้เกิดลัทธืชาตินิยมในหลายประเทศ ซึ่งมักจะมองผลประโยชน์ของชาติตนเองเป็นหลัก ก่อให้เกิดการกีดกันทางการค้า และปิดกั้นเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของสินค้าและประชากรแทบจะสิ้นเชิง ซึ่งเป็นการขัดขวางกระบวนการโลกาภิวัติน์อย่างชัดเจน
- การล่มสลายของจักรวรรดิต่างๆ ออสเตรีย-ฮังการี ออตโตมัน รัสเซีย ที่กล่าวมานี้เป็นจักรวรรดิใหญ่ี่ล่มสลายลง ซึ่ง ก่อให้เกิดรัฐชาติและประเทศใหม่ๆมากมาย ทำให้อำนาจดุลของโลกเปลี่ยนไป ส่งผลต่อทิศทางของโลกาภิวัตน์ในช่วงเวลาต่อมา
Globalization 4.0: โลกาภิวัตน์ในยุคดิจิทัล
Globalization 4.0 นั้น นับเป็นแนวคิดที่อธิบายถึงยุคล่าสุดของโลกาภิวัตน์ ซึ่งเน้นบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลในการเชื่อมโยงโลกเข้าด้วยกัน รวมทั้งเทคโนโลยีอย่างปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติที่เราคุ้นเคย เข้ามามีบทบาทสำคัญในภาคการผลิตและบริการ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจโลกครั้งใหญ่ก้าวกระโดดแบบที่เรียกว่า แทบจะเปลี่ยนทุกครั้งที่กะพริบตา
แต่อย่างไรก็ตาม การพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้นก็นำมาซึ่งความท้าทายใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเหลื่อมล้ำที่อาจเพิ่มขึ้น ตามแนวคิด Dependency Theory ประเทศกำลังพัฒนาที่พึ่งพาการส่งออกสินค้าขั้นปฐมภูมิไปยังประเทศพัฒนาแล้ว อาจเสียเปรียบมากขึ้นในโลกยุคดิจิทัล เนื่องจากมูลค่าส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นมาส่วนใหญ่ตกอยู่ที่บริษัทเทคใหญ่ๆเท่านั้น
มองย้อนไปในอดีตกับ Archiaic Glablolization
รากฐานของโลกาภิวัตน์เกิดขึ้นตั้งแต่ยุค Proto-Globalization เมื่อหลายพันปีก่อน ผ่านเครือข่ายการค้าอย่างเส้นทางสายไหม ก่อนจะพัฒนาเป็นโลกาภิวัตน์สมัยใหม่ (Modern Globalization) ที่เน้นการค้าเสรีและการเคลื่อนย้ายทุนข้ามพรมแดน รวมไปทั้งการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม หรือ manufacured goods เชื่อมต่อกับห่วงโซการค้าขายได้ดียิ่งขึ้นในระดับโลก
บทสรุป
จะเห็นได้ว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา global trade หรือการค้าระหว่างประเทศต่างๆ ก็เผชิญความท้าทายจากกระแสชาตินิยมที่พุ่งสูงและการกีดกันทางการค้าที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับวิกฤตโควิด-19 ที่ทำให้ห่วงโซ่อุปทานโลกหยุดชะงัก จึงมีข้อถกเถียงกันมากว่าโลกกำลังเข้าสู่ยุคหลังโลกาภิวัตน์ หรือ De-Globalization หรือไม่
แม้จะเป็นยุคโบราณ แต่ Archaic globalization ที่ผ่านมาจนถึงยุคปัจจุบัน ก็มีบทเรียนและข้อคิดที่เป็นประโยชน์สำหรับโลกทุกวันนี้ บทความนี้จะวิเคราะห์บทเรียนสำคัญจากยุคแรกเริ่มของโลกาภิวัตน์ที่สามารถประยุกต์ใช้กับบริบทที่เป็นโลกาภิวัตน์ร่วมสมัย